ตัวอย่างข้อสอบ GAT-PAT

สำหรับน้อง ๆ คนใหนที่กำลังปวดหัวอยู่กับการเตรียมตัวสอบครับ
วันนี้พอดีไปเจอเว็บที่ให้แนวข้อสอบ GAT-PAT ไว้ ให้น้อง ๆ ได้
เข้าไป download อ่านเพื่อเตรียมตัวและเตรียมใจครับ
เข้าไปโหลดได้ที่ www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=107&post_id=43659 นะครับ

ขอบคุณเว็บเนื้อหาดีดี ๆ www.tlcthai.com

การปฏิบัติตัวในการสอบ GAT-PAT

“อุทุมพร” ยันสอบ GAT-PAT ต้องให้เด็กนั่งสอบจนครบเวลา เหตุป้องกันทุจริต หวั่นเด็กเก่งจำข้อสอบมาบอกเพื่อน พร้อมแจ้ง สทศ.จะเพิ่มห้องสอบ แก้ปัญหานร.ที่ไม่สะดวกในการเดินทาง ฝากนร.ทุกคนตรวจสอบสนามสอบอีกครั้ง และพิมพ์บัตรประจำตัวเข้าห้องสอบด้วย
ศ.ดร.อุทุมพร จามารมาน ผู้อำนวยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สทศ.จัดให้มีการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือGAT (General Aptitude Test ) และทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT (Professional and Academic Aptitude Test ) เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่นส์ ประจำปีการศึกษา 2553 ที่จะจัดสอบครั้งแรกวันที่ 7 – 15 มีนาคม 2552 นั้น ขณะนี้ทางศูนย์สอบต่าง ๆ ได้ปรึกษามาที่สทศ.ถึงเรื่องการจัดห้องสอบPAT ให้กับนักเรียนบางคนที่ยังไม่ลงตัว และทำให้เด็กบางคนไม่สะดวกในการเดินทางไปสอบ
เนื่องจากจำนวนผู้เข้าสอบ PAT แต่ละPAT ไม่เท่ากัน โดยบาง PAT มีคนเข้าสอบน้อย ทำให้สทศ.ต้องจัดเด็กที่สอบวิชาเดียวกันให้ไปอยู่สนามสอบเดียวกัน ซึ่งสนามสอบที่จัดให้นั้นอาจจะเป็นคนละสนามสอบที่เด็กสอบเดิม ก็จะทำให้เด็กไม่สะดวกในการเดินทางไปสอบได้ โดยเฉพาะถ้าต้องสอบในวันเดียวกัน และเท่าที่ทราบสนามสอบในต่างจังหวัดแบ่งแห่งไกลกัน 60-120 กม. หรือต้องใช้เวลาเดินทางเป็นชั่วโมง แต่ถ้าการสอบนั้นเป็นคนละวันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อว่า จากกรณีปัญหาที่เด็กอาจไม่สะดวกในการเดินทาง ที่ต้องเปลี่ยนสนามสอบนั้น ตนเองได้ขอให้ทางเจ้าหน้าที่ สทศ.ช่วยจัดสนามสอบให้กับเด็กใหม่ โดยอาจจัดห้องสอบในสนามสอบเดิมที่เด็กสอบ ซึ่งเด็กที่เข้าสอบอาจจะจำนวนน้อย และต้องเสียเงินเพิ่มในการเพิ่มห้องสอบหรือจ่ายค่าคุมสอบให้กับกรรมการคุมสอบ สทศ.ก็ยอม เพราะต้องการอำนวยความสะดวกให้กับเด็กมากที่สุด แต่การจัดห้องสอบนี้จะจัดให้เฉพาะเด็กที่ต้องเปลี่ยนสนามสอบในวันเดียวกันเท่านั้น และต้องจัดให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ ดังนั้นขอให้เด็กทุกคนเข้ามาตรวจสอบสนามสอบอีกครั้งและพิมพ์บัตรประจำตัวเข้าห้องสอบด้วย เพื่อป้องกันการไปผิดสนามสอบ ส่วนเรื่องข้อสอบGATและPAT เสร็จเรียบร้อยแล้ว และปลายสัปดาห์นี้จะต้องส่งให้กับศูนย์สอบต่าง ๆ
“ ส่วนที่หลายฝ่ายท้วงติงถึงเรื่องที่สทศ.กำหนดให้เด็กต้องนั่งสอบจนครบเวลา โดยเฉพาะการสอบ GAT และPAT ที่ใช้เวลาสอบถึง 3 ชั่วโมงนั้น ยอมรับว่า เวลา 3 ชั่วโมงนาน ซึ่งวิธีการแบบนี้ในต่างประเทศก็ใช้ แต่ไม่ได้ใช้ทุกแห่ง และในการสอบนักเรียนนายร้อยตำรวจก็ให้เด็กต้องนั่งสอบจนครบเวลาที่กำหนดเช่นกัน ดังนั้นยืนยันว่าการสอบ GAT และPAT จะต้องให้เด็กนั่งสอบจนครบเวลา เพราะต้องการแก้ปัญหาการทุจริต เนื่องจากที่ผ่านมาจะพบการทุจริตหลังจากครึ่งชั่วโมงสุดท้าย โดยเด็กเก่งจะจำข้อสอบและแอบออกมาส่ง SMS ให้กับเพื่อนที่นัดแนะกันไว้ ดังนั้นการให้เด็กนั่งจนหมดเวลา เพื่อเป็นการป้องกัน และหากเด็กเบื่อที่ต้องนั่งนาน ๆ ก็สามารถฟุบหลับที่โต๊ะได้”ศ.ดร.อุทุมพร กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก http://blog.eduzones.com/ezine

ลักษณะข้อสอบ GAT-PAT

ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test)การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ 1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา
50 % 2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %


ลักษณะข้อสอบ GAT1เนื้อหา - การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50% - การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย - คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง - ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ 3. สอบปีละหลายครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)


ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT :Professional and Academic Aptitude Test) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู 6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ 7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ

ลักษณะแนวข้อสอบ PATPAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์ เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ ลักษณะ ข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ลักษณะ ข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย - คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบการจัดสอบPAT จะจัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก www.chulatutor.com

GAT-PAT คืออะไร

GAT คือ ความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) ประกอบด้วย 3.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา ( 150 คะแนน ) 3.2 ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ (150 คะแนน )
PAT คือ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (Professional and Academic Aptitude Test) ประกอบด้วย PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์) PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ)